ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

การเกษตรกรรของฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสมีจำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรกว่า 590,000 แห่ง มีประชากรในวัยทำงานในภาคการเกษตร 1,189,000 คน และมีพื้นที่เพาะปลูก 27,668,000  เฮกตาร์ หรือเท่ากับร้อยละ 50.7 ของ ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่  โดยมีผลิตผลทางการเกษตรหลักดังนี้ ธัญพืช  69.7 ล้าน ตัน  ในจำนวนนี้ 37.6 ล้านตันเป็น ข้าวสาลี และ 16.4 ล้านตันเป็น เมล็ดข้าวโพด  ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของ สหภาพยุโรป และเป็นอันดับ 5 ของโลก ไวน์  48 ล้าน เฮกโตลิตร  อันดับ 2 ของโลกและใน สหภาพยุโรป รองจาก ประเทศอิตาลี นม  22.2 ล้าน ลิตร  อันดับ 2 ของ สหภาพยุโรป รองจาก ประเทศเยอรมนี และเป็นอันดับ 5 ของโลก หัวผักกาดหวาน  29.4 ล้าน ตัน  ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของ สหภาพยุโรป และอันดับ 2 ของโลก เมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน  6 ล้าน ตัน  ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของ สหภาพยุโรป ส่วนด้านการทำ ปศุสัตว์ และ การผลิตเนื้อสัตว์ นั้น มีดังนี้ โค  จำนวน 19.2 ล้านตัว /  เนื้อโค  ปริมาณผลิต 1.8 ล้าน ตัน สุกร  จำนวน 15.2 ล้านตัว /  เนื้อสุกร  ปริมาณผลิต 2.3 ล้าน ตัน แกะ  จำนวน 8.9 ล้านตัว,  แพะ  จำนวน 1.2 ล้านตัว /  เนื้อแพะ และ แกะ  ปริมาณผ
โพสต์ล่าสุด

การแบ่งเขตการปกครองของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่  (Metropolitan France - "France métropolitaine, la Métropole, l'Hexagone") แบ่งการปกครองออกเป็น 13 แคว้น (regions -  régions ) โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น  จังหวัด (départements)  รวมทั้งหมด 96 จังหวัด นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่ 5  จังหวัดโพ้นทะเล  (Départements d'outre-mers: DOM)  ได้แก่  กัวเดอลุป  (Guadeloupe)  เฟรนช์เกียนา  (French Guiana)  มาร์ตีนิก (Martinique)  เรอูว์นียง  (Réunion) และ มายอต  (Mayotte) ทั้งห้าดินแดนมีฐานะเดียวกับแคว้นในฝรั่งเศสภาคพื้นทวีป (อย่างเดียวกับฮาวายที่มีฐานะเท่าเทียมกับรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา) กล่าวคือ เป็นทั้งแคว้นและจังหวัดในเวลาเดียวกัน 4  เขตชุมชนโพ้นทะเล  (Collectivités d'outre-mer)  ได้แก่  แซงปีแยร์และมีเกอลง  (Saint Pierre and Miquelon)  วาลลิสและฟุตูนา (Wallis and Futuna)  แซ็ง-บาร์เตเลมี  (Saint Barthélemy) และ แซ็ง-มาร์แต็ง  (Saint Martin) 1 

การค้าขายของประเทศฝรั่งเศส

    เศรษฐกิจ ประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศพึ่งอยู่กับพลังงานนิวเคลียร์ (เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กอลเฟค) เมื่อดูจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา รวมไปถึงภาคธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า) ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศฝรั่งเศสเสียเปรียบดุลการค้าถึง 6.6 พันล้านยูโร ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทางด้านสินค้าทุน (ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และเป็นอันดับ 2 ในส่วนของภาคบริการและทางด้านเกษตรกรรม (โดยเฉพาะธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) ส่วนในระดับภูมิภาคยุโรป ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 70 (ร้อยละ 50 เฉพาะประเทศในโซนยูโร) ในด้านการลงทุน ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้เพรา

ภูมิประเทศของฝรั่งเศส

ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (La Métropole หรือ France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ใน ทวีปอเมริกาเหนือ   ทะเลแคริบเบียน   อเมริกาใต้   มหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกและทางใต้  มหาสมุทรแปซิฟิกใต้  รวมทั้งบางส่วนใน ทวีปแอนตาร์กติกา อีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู  สนธิสัญญาแอนตาร์กติก ) ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 543,935  ตารางกิโลเมตร  (210,013 ตารางไมล์ ) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม สหภาพยุโรป  ซึ่งใหญ่กว่า ประเทศสเปน เพียงนิดเดียว ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและ มหาสมุทรแอตแลนติก  ไปจนถึง เทือกเขาแอลป์ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราล ทางภาคใต้ตอนกลางและ เทือกเขาพิเรนีส ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ  ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807  เมตร  (15,770  ฟุต ) ตั้งอยู่บน เทือกเขาแอลป์  บร

พระราชาของฝรั่งเศสในปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส  ( ฝรั่งเศส :  Monarques de France ) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนา ราชอาณาจักรแฟรงก์ ในปี พ.ศ. 1029 ไปจนถึงการล่มสลายของ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2  ในปี พ.ศ. 2413 โดยฝรั่งเศสถูกปกครองด้วยตำแหน่งพระมหากษัตริย์ตลอดช่วงระยะเวลาส่วนมากบนหน้าประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามยังมีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์กาโรแล็งเชียงสี่พระองค์ที่ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งโรมันและบุคคลจากตระกูลโบนาปาร์ตดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศสด้วย บทความนี้รวบรวมรายพระนามผู้ปกครองในตำแหน่ง "พระมหากษัตริย์แห่งแฟรงก์", "พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส", "พระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส" หรือ "จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส" สำหรับพระมหากษัตริย์ชนแฟรงก์ดูที่ พระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์ นอกจากนี้ในรายพระนามด้านล่าง  พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและบริเตนใหญ่ ช่วง พ.ศ. 1883 - 1903 และ พ.ศ. 1912 - 2344 ทรงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส อันเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นที่การกล่าวอ้างนี้ยึดอยู่บนพื้นฐานของสนธิสัญญาตรัวส์ พ.ศ. 1963 ที่ พระเจ้าชาร์ลที่ 6  ทรงถือเอา พระเจ้าเฮนรีท

ประติมากรรมในฝรั่งเศส

ประติมากรรม  ( อังกฤษ :  Sculpture ) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของ ทัศนศิลป์  ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า  ปฏิมากรรม  ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า  ปฏิมากร ประเภทของงานประติมากรรม ประเภทของงานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่ ประติมากรรมนูนต่ำ ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ประติมากรรมนูนสูง ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากร

ภาษาทางราชการของฝรั่งเศส

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจาก ภาษาละติน ที่พูดกันใน จักรวรรดิโรมัน โบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุง โรม  แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่