ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระราชาของฝรั่งเศสในปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศสMonarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี พ.ศ. 1029 ไปจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ในปี พ.ศ. 2413 โดยฝรั่งเศสถูกปกครองด้วยตำแหน่งพระมหากษัตริย์ตลอดช่วงระยะเวลาส่วนมากบนหน้าประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามยังมีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์กาโรแล็งเชียงสี่พระองค์ที่ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งโรมันและบุคคลจากตระกูลโบนาปาร์ตดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศสด้วย
บทความนี้รวบรวมรายพระนามผู้ปกครองในตำแหน่ง "พระมหากษัตริย์แห่งแฟรงก์", "พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส", "พระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส" หรือ "จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส" สำหรับพระมหากษัตริย์ชนแฟรงก์ดูที่พระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์
นอกจากนี้ในรายพระนามด้านล่าง พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและบริเตนใหญ่ช่วง พ.ศ. 1883 - 1903 และ พ.ศ. 1912 - 2344 ทรงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส อันเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นที่การกล่าวอ้างนี้ยึดอยู่บนพื้นฐานของสนธิสัญญาตรัวส์ พ.ศ. 1963 ที่พระเจ้าชาร์ลที่ 6 ทรงถือเอาพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษว่าเป็นอุปราชและรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ฝรั่งเศส แต่พระเจ้าเฮนรีที่ 5 เสด็จสวรรคตก่อนพระเจ้าชาร์ลที่ 6 ดังนั้นพระโอรสของพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ซึ่งก็คือ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ จึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสต่อจากพระอัยกา (พระเจ้าชาร์ลที่ 6) ดินแดนทางตอนเหนือของฝรั่งเศสส่วนมากอยูภายใต้การปกครองของอังกฤษจนกระทั่ง พ.ศ. 1978 แต่เมื่อถึง พ.ศ. 1996 ชาวอังกฤษก็ถูกขับไล่ออกไปจากแผ่นดินฝรั่งเศสจนหมด ฝรั่งเศสได้ยึดคืนเมืองกาลายส์และหมู่เกาะแชนเนล ต่อมาเมืองกาลายส์ก็ถูกยึดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2101 อย่างไรก็ตามพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร) ยังคงอ้างสิทธิ์เหนือบัลลังก์ฝรั่งเศสมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งยุติลงจากการสถาปนาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (จากพระราชบัญญัติสหภาพ) ในปี พ.ศ. 2344
ตำแหน่ง "พระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์" (ละตินREX FRANCORUM) ถูกใช้ไปจนถึง พ.ศ. 1733 ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 2 (แต่มีการใช้ FRANCORUM REX โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ใน พ.ศ. 2042, โดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 ใน พ.ศ. 2058 และโดยพระเจ้าอองรีที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2093[1]) ในช่วงระยะเวลาอันสั้นที่รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) มีผลบังคับใช้ (พ.ศ. 2334 - 2335) และหลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2373 พระอิสริยยศ "พระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส" ถูกใช้แทนพระอิสริยยศ "พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (และนาวาร์)" เป็นประดิษฐกรรมทางรัฐธรรมนูญที่รู้จักกันว่า ราชาธิปไตยโดยประชานิยม ซึ่งเชื่อมเอาพระยศของกษัตริย์ผู้ปกครองเข้ากับประชาชนชาวฝรั่งเศส แทนการเชื่อมเข้ากับดินแดนฝรั่งเศสที่ทรงปกครอง
นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังเคยใช้ระบอบจักรวรรดิสองครั้งคือ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2347 - 2358 ซึ่งสถาปนาและปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ต่อมาคือ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2ตั้งแต่ พ.ศ. 2395 - 2413 ซึ่งซึ่งสถาปนาและปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 พระนัดดาในนโปเลียนที่ 1

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประติมากรรมในฝรั่งเศส

ประติมากรรม  ( อังกฤษ :  Sculpture ) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของ ทัศนศิลป์  ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า  ปฏิมากรรม  ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า  ปฏิมากร ประเภทของงานประติมากรรม ประเภทของงานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่ ประติมากรรมนูนต่ำ ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ประติมากรรมนูนสูง ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากร

ภาษาทางราชการของฝรั่งเศส

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจาก ภาษาละติน ที่พูดกันใน จักรวรรดิโรมัน โบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุง โรม  แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่

การค้าขายของประเทศฝรั่งเศส

    เศรษฐกิจ ประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศพึ่งอยู่กับพลังงานนิวเคลียร์ (เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กอลเฟค) เมื่อดูจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา รวมไปถึงภาคธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า) ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศฝรั่งเศสเสียเปรียบดุลการค้าถึง 6.6 พันล้านยูโร ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทางด้านสินค้าทุน (ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และเป็นอันดับ 2 ในส่วนของภาคบริการและทางด้านเกษตรกรรม (โดยเฉพาะธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) ส่วนในระดับภูมิภาคยุโรป ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 70 (ร้อยละ 50 เฉพาะประเทศในโซนยูโร) ในด้านการลงทุน ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้เพรา